ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนปทุมคงคา
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางรากฐานของการศึกษาสมัยใหม่โปรดเกล้าฯให้ส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น เพื่อให้กุลบุตร กุลธิดา ได้ศึกษาเล่าเรียน ดังนั้น จึงมีการก่อตั้งโรงเรียนต่างๆขึ้นหลายโรงเรียน ทั้งในพระนคร และหัวเมืองต่างๆทั้งตั้งกระทรวงธรรมการ ให้มีหน้าจัดการศึกษา โรงเรียนที่ก่อตั้งนั้นมักจะเริ่มต้นขึ้นจากในวัด เพราะต้องอาศัยพระสงฆ์เป็นครูสอน โรงเรียนที่ก่อตั้งจากวัดจึงจัดสอนเฉพาะเด็กชายโรงเรียนปทุมคงคาได้เริ่มต้นขึ้นในวัดปทุมคงคา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2443 โดยพระครูใบฎีกาเหลียนเป็นครูสอนนักเรียน ที่กุฏิของท่าน นับว่าพระครูใบฎีกาเหลียนเป็นครูคนแรกของโรงเรียนปทุมคงคา ต่อมาท่านได้ลาสิกขา เข้ารับราชการเป็นครูสอนอยู่โรงเรียนนายร้อย จ.ป.ร. ได้รับพระราชทานยศเป็นพันโทและบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสิมานนท์ปริญญา
พ.ศ. 2444 พระครูใบฎีกาเหลียนได้ย้ายนักเรียนไปสอนที่ “เรือนท่านพร” ซึ่งเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ที่ใช้เป็นที่จัดงานฌาปนกิจศพ ของท่านพรเศรษฐีตลาดน้อย เมื่อเสร็จงานแล้วจึงได้ อุทิศให้โรงเรียนปทุมคงคา พระครูใบฎีกาเหลียนจึงให้นักเรียนมาเรียนที่เรือนไม้นี้ และเรียกเรือนไม้หลังนี้ว่า “เรือนท่านพร” นับว่าเป็นอาคารแรกของโรงเรียนปทุมคงคา เรือนท่านพรนี้ได้รื้อออกเมื่อ พ.ศ.2494 เพื่อใช้ที่ดินสร้างอาคารเรียนเป็นตึก 2 ชั้น จำนวน 6 ห้องเรียน นับว่าเรือนท่านพรมีอายุถึง 50 ปี จากการสอบถาม อาจารย์มณี บัวทอง จึงทราบว่า เรือนท่านพรสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง
จากหนังสืออนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนปทุมคงคา อาจารย์สกล สิงหไพศาล (อาจารย์ใหญ่โรงเรียนปทุมคงคา พ.ศ.2490 – 2507) ได้เขียนประวัติโรงเรียนปทุมคงคา ไว้ตอนหนึ่งดังนี้ “พ.ศ. 2445 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลขึ้นในวัดตามโครงการการศึกษา ท่านเจ้าอาวาสและคณะครูจึงได้มอบโรงเรียนวัดให้แก่รัฐบาล พร้อมทั้งเครื่องอุปกรณ์การสอนทั้งหมดใช้ชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา” (เดี๋ยวนี้ตัดคำว่ามัธยมออก) ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนรัฐบาล คือ นายสนธิ์ พระครูกัลยาณคุณ (โชติ) เจ้าอาวาสผู้อุปการะโรงเรียนท่านเอาใจใส่ในการศึกษามาก ให้ความอุปการะแก่โรงเรียนหลายประการ อาทิ ได้ยกตึก “สม -เด็จพุฒจารย์” (ศรี) ให้เป็นโรงเรียน และได้สร้างตึกเรียน 2 ชั้น 6 ห้อง โดยใช้เงินธรณีสงฆ์และยังมีที่ว่างสำหรับเล่นฟุตบอล บริเวณโรงเรียนเดิมด้านทิศตะวันออกไปถึงโรงภาพยนตร์โอ-เดียน ณ ที่นี้เคยเป็นที่ตั้งโรงฝึกพลศึกษาของโรงเรียน”
จะเห็นได้ว่าระยะเวลาที่ตั้งโรงเรียนมาได้เพียง 2 – 3 ปี โรงเรียนวัดปทุมคงคาก็ได้เป็นปึกแผ่นมีคณะครูของโรงเรียน การที่โรงเรียนเจริญก้าวหน้าก็คงเพราะมีเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาเป็นผู้อุปการะโรงเรียน ถึงขนาดให้เงินธรณีสงฆ์สร้างตึกเรียน 2 ชั้น 6 ห้อง
พ.ศ.2445 – 2459 โรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษา ดร.พร ศรีจามร เล่าไว้ในหนังสืออนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนปทุมคงคา เรื่องทวนรำลึกถึงความหลัง ดังนี้ “ข้าพเจ้าเริ่มปฏิสนธิเป็นลูกปทุม เมื่อ พ.ศ.2459 โดยเข้าเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในสมัยนั้นโรงเรียนแบ่งที่เรียนเป็น 2 แห่ง ชั้นประถมศึกษาตั้งอยู่ที่วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์)ส่วนชั้นมัธยมศึกษาตั้งอยู่ที่วัดสัมเพ็ง (วัดปทุมคงคา)”
อย่างไรก็ตามก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเหตุใดชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนจึงไปเรียนที่วัดสัมพันธวงศ์ และไปอยู่ตั้งแต่เมื่อไรเพราะ น.พ.ประดิษฐ์ ตัณสุรัต เขียนไว้ในอนุสรณ์ 60 ปี โรง-เรียนปทุมคงคาว่า “ได้มาเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนวัดปทุมคงคาเมื่อ พ.ศ.2462 ซึ่งนั้นชั้นประถมยังอาศัย อยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์” ส่วนชั้นมัธยมศึกษานั้น โรงเรียนปทุมคงคาเปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 ซึ่งเป็นปีที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบโรงเรียนวัดปทุมคงคาแล้วใช้ชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา” และทราบว่า สมัยนั้นเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แล้วก็ขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนวัดปทุมคงคา ที่เรียนประถมไปอาศัยเรียนที่วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์) จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จึงจะย้ายมาเรียนที่ตัวโรงเรียนใหญ่ คือ ที่วัดปทุม -คงคา ครูสนธิ์เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคาตั้งแต่ พ.ศ.2445 จนถึงพ.ศ.2451พระยาศึกษาสมบูรณ์ (ม.ล.แหยม อินทรางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคาจนถึง พ.ศ.2454 M.r.Norman Sutton เป็นอาจารย์ใหญ่คนต่อมา จนถึง พ.ศ. 2458 M.r.J.C. Sedgewick เป็นอาจารย์ใหญ่ จนถึง พ.ศ. 2462 ในระหว่าง พ.ศ.2445 – 2459 โรงเรียนมัธ-ยมวัดปทุมคงคาเปิดสอน ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่อย่างไรก็ดี ชั้นประถมก็ยังคงเป็นสอนอยู่และยังคงอาศัย อยู่ที่วัดเกาะ ซึ่ง น.พ.ประดิษฐ์ ตัณสุรัต เขียนเรื่อง “เมื่อผมเป็นนักเรียนปทุมคงคา” ในหนังสืออนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนปทุมคงคา ไว้ว่า พ.ศ.2462 “ ผู้เขียนสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาราม (ขณะนั้นเรียกวัดสมาจีน) ได้เมื่อ พ.ศ. 2461 แล้วย้ายมาเรียนชั้น ประถมปีที่ 2 ของโรงเรียนวัดปทุมคงคา เมื่อพ.ศ.2462 ซึ่งขณะนั้น ประถมยังอาศัยอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ)
พ.ศ.2463 ผู้เขียนเลื่อนขึ้นชั้นประถมปีที่ 3
พ.ศ.2464 ผู้เขียนสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ ต้องอำลาวัดสัมพันธวงศ์ไปวัดปทุมคงคาเพื่อเข้าชั้นมัธยมปีที่ 1”
แสดงว่า พ.ศ.2464 โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคายังคงเปิดสอนชั้นประถมศึกษาและไม่ทราบว่าเลิกสอนชั้นประถมศึกษาไปตั้งแต่เมื่อไร โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคาเริ่มเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 เมื่อ
พ.ศ.2460 และเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 เมื่อ พ.ศ.2461 ซึ่ง อาจารย์ฟุ้ง วรรธนะสาร อดีตนักเรียนเก่าและอาจารย์โรงเรียนปทุมคงคา เขียนไว้ในหนังสือ “บันทึกความทรงจำของนักเรียนคนหนึ่ง” ในหนังสืออนุสรณ์ปทุมคงคา 60 ปี ดังนี้
“โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคาเริ่มตั้งมัธยม 7 เมื่อ พ.ศ.2460 และมัธยม พ.ศ.2461 ผลการสอบนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ซึ่งมีโรงเรียนส่งนักเรียนเข้าสอบ 3 โรงเรียนคือ โรง-เรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ และโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา ผลการสอบนายวงศ์ กุลพงษ์ นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคาสอบได้ที่ 1 ได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ นับเป็นเกียรติอย่างหนึ่งที่ปทุมคงคาได้มา”
พ.ศ.2463 M.r.Arthor C. Churchill เป็นอาจารย์ใหญ่ ชื่อเสียงของโรงเรียนเด่นดังขึ้นมาก
พ.ศ.2476 หลวงปาลิตวิชาสาสก์ เป็นอาจารย์ใหญ่ เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 เรื่อยมาจนถึง 2481 โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคาได้ยกเลิกการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 พ.ศ.2482 ก็ยกเลิกชั้นมัธยมปีที่ 8 เพราะนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วจะเข้าเรียนต่อในโรงเรียนเตรียมอุดมเท่านั้น สำหรับโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา ได้เปิดการสอนเฉพาะชั้นมัธยมปลายเท่านั้น คือ มัธยมปีที่ 4 – 6 เท่านั้น แต่ละชั้นมี 3 ห้อง รวมมีนักเรียน 9 ห้องเรียนมีนักเรียน 270 คน
พ.ศ.2483 หลวงบรรสบวิชาฉาน เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนยังเปิดสอนเฉพาะมัธยมตอนปลายเท่านั้น
พ.ศ.2485 นายสวัสดิ์ ภูมิรัตน์ เป็นครูใหญ่
พ.ศ.2486 ขุนจรรยาวิจัย (สารี มะกรสาร) ซึ่งเป็นนักเรียนปทุมคงคา หมายเลขประจำตัว 1 ได้เป็นครูใหญ่
พ.ศ.2487 นายสนอง สุขสมาน เป็นครูใหญ่ ในระยะนี้นักเรียนโรงเรียนปทุมคงคาลดต่ำลงมาก กล่าวคือ พ.ศ.2488 ได้ลดลงเหลือเพียง 7 ห้อง มีนักเรียน 224 คน มีครู 12 คน อาจกล่าวได้ว่าเป็นระยะที่โรงเรียนเกือบจะต้องเปลี่ยนสภาพเป็นอย่างอื่น คือ ทางราชการดำริจะยุบโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา
พ.ศ.2490 อาจารย์สกล สิงหไพศาล ย้ายมาดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ มีอาจารย์สิริ อ่อนสิริ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่นั้น ได้พยายามแก้ปัญหาโดยการขอขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งทางราชการก็อนุญาตให้เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ 1 ขึ้นใหม่ ในปีพ.ศ.2491 และเปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ 2 – 3 เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2492 และ พ.ศ.2493 ตามลำดับ การขยายชั้นเรียนดังกล่าวอาจารย์เอิบสิน สาหร่ายทอง อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมคงคา ได้เขียนไว้ในหนังสือปทุมคง-คารำลึก 2521 – 2522 เรื่อง “รำลึกถึงปทุมคงคา” ตอนหนึ่งว่า “ อาจารย์สกล สิงหไพศาล ได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้น ตึกยาวทุกห้อง เป็นไม้มุขชั้นบนจัด 2 ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นห้องประชุมปกติเป็นที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตึกเทียนประเทียนจัด 4ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นห้องพละ ชั้นเรียนมากขึ้น ครูมากขึ้น บริเวณก็แคบไป จึงรื้อเรือนไม้หน้ามุขกลางออกเป็นบริเวณให้นักเรียนเล่นและเป็นห้องประชุมอมรบ”
ดังนั้นในปี พ.ศ.2493 โรงเรียนปทุมคงคาจึงเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึง ปีที่ 6
16 สิงหาคม 2493 เป็นวันครบรอบ 50 ปี ของการสถาปีนาปทุมคงคา มีการพบปะสังสรรค์นักเรียนเก่า มีการแสดงของของนักเรียน นายสนั่น สุมิตร อธิบดีกรมสามัญศึกษาในขณะนั้น มาร่วมงานด้วยในฐานะนักเรียนเก่า ศิษย์เก่าได้เข้าพบและขอร้องให้โรงเรียนปทุมคงคาเปิดสอนชั้นเตรียมอุดม อาจารย์ เอิบสิน สาหร่ายทอง ได้เขียนไว้ใน หนังสือปทุมคงคารำลึก 2521 – 2522 เรื่อง “รำลึกถึงปทุมคงคา” ดังนี้
“วันนั้น ท่านอธิบดีกรมวิสามัญ (อาจารย์สนั่น สุมิตร) มาร่วมด้วยท่านเดินดูห้องเรียนและชี้ให้ดูและบอกว่า “ผมเคยเรียนห้องนี้” ศิษย์เก่าขอร้องให้เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาให้ปทุมคงคา ท่านกล่าวว่า “ผมก็ต้องให้มี มองซ้าย – ขวา – หน้า – หลัง แล้วไม่มีบริเวณพอ” ในที่สุดเราก็ได้รับอนุญาตให้เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาขึ้นเมื่อ 2497 เราต้องอาศัยเรือนสมาคมศิษย์เก่าเป็นห้องเรียน 2 ห้อง เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนปทุมคงคา นักเรียนมากขึ้น มิหนำซ้ำต้องรับภาวะให้มีภาคบ่าย ต้องอาศัยสอนกันหน้าระเบียงโบสถ์”ในปี พ.ศ.2497 โรงเรียนปทุมคงคาจึงเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ถึงเตรียมอุดมศึกษา (ม.1ถึง ม.8) โรงเรียนเป็นปึกแผ่นมากยิ่งขึ้น ตามสถิตจำนวนนักเรียนในปี พ.ศ.2503โรงเรียนปทุมคงคายังคงเปิดสอน 2 ผลัดคือผลัดเช้า 16 ห้องเรียน ผลัดบ่าย 13 ห้องเรียน รวม29 ห้องเรียน มีนักเรียน 1,181 คน มีครูอาจารย์ 45 คน พ.ศ.2503 กระทรวงศึกษาธิการประ-กาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 ซึ่งมีผลทำให้จัดการศึกษาเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ เป็นระบบ 4 – 3 – 3 – 2 ซึ่งหมายถึง การจัดการศึกษาเป็น ระบบประถมศึกษาตอนต้น 4 ปี ระดับประถมศึกษาตอนปลาย 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(ม.ศ.1) โดยรับผู้ที่จบประโยคชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.7) ส่วนโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนถึงชั้นเตรียมอุดมก็เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.4 – 5) โรงเรียนปทุมคงคาจึงเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(ม.ศ.1) ในปี พ.ศ.2504 และตัดชั้นมัธยมปีที่ 1 (ม.1) ปีการศึกษา 2505 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม.ศ.2) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.ศ.4) พร้อมกับตัดชั้น ม.2 และเตรียมอุดมปีที่1 พ.ศ.2506 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ.3) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.ศ.5) พร้อมกับตัดชั้น ม.3 และชั้นเตรียมอุดมปีที่ 2 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ในปี พ.ศ.2506 โรงเรียนปทุมคงคาเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ. 1 – 5) ซึ่งเป็นไปตามระบบการศึกษา
พ.ศ.2503 เป็นปีที่โรงเรียนมี อายุ 60 ปี โรงเรียนร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าจัดงานฉลองครบรอบ 60 ปี โรงเรียนปทุมคงคา ในขณะนั้นทราบว่าโรงเรียนปทุมคงคามี อาจารย์สกล สิงหไพศาล เป็นอาจารย์ใหญ่ แบ่งงานเป็น 3 ฝ่าย โดยมีผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่แต่ละฝ่ายคือ
1. อาจารย์ปทุม เปรมกมล เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ
2. อาจารย์จรัล จิวาลักษณ์ เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครอง
3. อาจารย์เอิบสิน สาหร่ายทอง เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายธุรการ
พ.ศ.2503 เป็นปีแห่งการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนปทุมคงคา เพราะเมื่อโรงเรียนเปิดสอนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษานั้น สถานที่ของโรงเรียนคับแคบมาก โรงเรียนได้รับงบประมาณต่อเติมอาคาร เมื่อปี พ.ศ.2496 เป็นเงิน 600,000 บาท โรงเรียนมีที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน22 ตารางวา จนถึง วันที่ 1 สิงหาคม 2503 วัดได้สร้างตึกแถวเพื่อหารายได้เข้าวัดจึงต้องรื้อถอนอาคารสโมสรนักเรียนเก่า โดยสมาคมได้รับเงินชดเชย 10,000 บาท ทำให้การดำเนินการของสมาคมนักเรียนเก่าหยุดชะงักไประยะหนึ่ง โรงเรียนมีที่ดินเหลือเพียง 2 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2503 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาปีการ (ม.ลปิ่น มาลากุล) ได้ไปทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดปทุมคงคา ได้แวะเยี่ยมโรงเรียน และได้บันทึกไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันเล่มที่ 5 มีใจความว่า “ที่ทางโรงเรียนแคบมากและมีความลำบากยิ่ง และมีสาธารณะผ่านปิดประตูก็ไม่ได้”
จากบันทึกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนี้ เป็นหลักฐานอย่างหนึ่ง ประกอบกับโครงการขยายการศึกษาออกไปชานเมือง จึงทำให้กรมวิสามัญศึกษานั้นพิจารณาย้ายโรง-เรียนปทุมคงคา มาเรียนที่แห่งใหม่ เลขที่ 920 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ได้ทำการขนย้ายพัสดุครุภัณฑ์ รวมทั้ง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง โดยใช้รถบรรทุก เมื่อเดือนมีนาคม 2507 และนักเรียนเริ่มย้ายมาเรียนที่โรงเรียนใหม่เมื่อเปิดภาคเรียนปีการศึก-ษา 2507 แต่ยังมีนักเรียน ม.ศ.1 ต้องอยู่วัดปทุมคงคาต่อไป เนื่องจากอาคารหลังที่ 2 ยังสร้างไม่เสร็จ อาจารย์อังคณา ดิษฐบรรจง อดีตอาจารย์โรงเรียนปทุมคงคาได้เขียนไว้ในหนังสือ“นึกถึง” ในหนังสือปทุมคงคาอนุสรณ์ 2507 ดังนี้
“เดือนมีมาคม พ.ศ.2507 ได้เฝ้ามองดูความโกลาหลความพวกเรา ต่างก็เก็บรวบรวมเข้าของสมบัติพัสถานของตนบรรจุลงในกล่อง ในถุง ในลัง ในหีบ บ้างก็มัดเป็นตั้งๆ บรรจุลงในเข่งใบใหญ่เตรียมพร้อมจะเคลื่อนย้ายได้ทันที ทั้งนี้ก็เพราะก่อนวันที่ 15 มินาคม บรรดาพัสดุ เคลื่อนที่ได้ทั้งมวลและถูกยังลำเอียงไปยังโรงเรียนปทุมคงคา บ้านกล้วย อำเภอพระโขนง สถานเรียนแห่งใหม่ งดงามตระการตา เป็นความภูมิใจอันยิ่งใหญ่ของชาวปทุมคงคาทั้งศิษย์และครู เพราะได้ตั้งใจรอคอยกันมา เป็นเวลานับปีๆและแล้ว…..รถบรรทุกก็ทยอยกันเข้ามาขนของ คันแล้ว ดันเล่า ขนไป ขนไป แต่ไม่หมดหรอก ยังเหลือโต๊ะเรียน ม้านั่งเก่าๆ ค่อนข้างชำรุดทรุดโทรม ประมาณ 240 ชุด สำหรับนักเรียนเข้าใหม่ ชั้น ม.ศ.1 อีก 6 ห้อง ก. ข. ค. ง. จ. ฉ. จำนวน 216 คน และครูเก่า (แก่บ้างไม่แก่บ้าง) ประจำการอยู่ 8 คน นักเรียน 216 คน ภาร-โรง 1 คน กับพัสดุที่ร่วงโรยไม่จำเริญนัยน์ตายังคงอยู่ในอาคารอันเก่าแก่ ส่วนหนึ่งของวัดปทุมคงคา ซึ่งเคยอยู่มานานแสนนานนับ 60 ปีปลาย ยังอยู่เพื่อช่วยให้พี่น้องจีนไทยแถวนั้น ไม่เงียบเหงาจนเกินไป ในเมื่อวันเปิดเรียนใหญ่ปีการศึกษา 2507 จะมาถึงวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน2507 ทั้งครูและนักเรียนไปพร้อมกันที่โรงเรียนใหม่ เพื่อประกอบพิธีไหว้ครูประจำปี นักเรียน ม.ศ.1 ทั้งหลายตื่นเต้นกับอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาล ตึก 3 ชั้น อันสง่างามในขณะที่นักเรียนชั้น ม.ศ.2 – ม.ศ.5 ย้ายมาเรียนที่ใหม่นั้น อาคารเรียนหลังที่ 2 กำลังก่อสร้างเมื่อสร้างเสร็จ จึงย้ายนักเรียน ม.ศ.1 มาเรียนรวมกันที่แห่งใหม่ การย้ายโรงเรียนมาที่ใหม่(ปัจจุบัน) ได้ย้ายมาหมดเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2508”
เมื่อโรงเรียนปทุมคงคาย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบันนี้ ทางราชการดำริจะเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนบ้านกล้วย แต่ในที่สุดก็ยังคงใช้ชื่อเดิม ในกรณีชื่อโรงเรียนนี้ อาจารย์เอิบสิน สาหร่ายทอง อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมคงคา เขียนไว้ในหนังสือปทุมรำลึกปี 2521 – 2522 ตอนหนึ่งดังนี้ “ 10 มีนาคม 2508 อธิบดีกรมวิสามัญ (อาจารย์สนั่น สุมิตร) อ่านรายงานตอนหนึ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนปทุมคงคาเป็นโรงเรียนรัฐบาล เมื่อ16สิงหาคม 2445 ซึ่งเดิมโรงเรียนนี้ ตั้งอยู่ในวัดปทุมคงคา มีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ม.ล.ปิ่น มาลากุล) ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ตามงบประมาณสร้างโรงเรียนที่บ้านกล้วย เอกมัยนี้ใช้ชื่อว่าโรงเรียนบ้านกล้วย ถ้าให้ชื่อตามนี้ก็ดูออกจะเป็นกล้วยๆไป จึงขอให้ชื่อว่า โรงเรียนปทุมคงคา ”อาจารย์สกล สิงหไพศาล อาจารย์ใหญ่ ซึ่งดำเนินการย้ายโรงเรียน ครบเกษียณอายุราชการเมื่อ 30 กันยายน 2507
22 พฤศจิกายน 2507 อาจารย์วินัย เกษมเศรษฐ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปทุมคงคา ได้รับภาระการพัฒนาโรงเรียนซึ่งกำลังก่อสร้างอาคารเรียนและเริ่มเพิ่มปริมาณ นักเรียนขึ้นเล็กน้อยและได้ทำพิธีเปิดอาคารเรียน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2508
โรงเรียนปทุมคงคาจัดการสอน นักเรียนชั้น ม.ศ.1 – 5 และได้เพิ่มจำนวนนักเรียนขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันที่ 2 พฤศจิกายน 2508 อาจารย์มนตรี ชุติเนตร ได้มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปทุมคงคา ซึ่งขณะนั้นโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ ม.ศ.1 ถึง ม.ศ.5 โรงเรียนปทุมคงคาขยายขึ้นตามลำดับ ปีการศึกษา 2508 มีห้องเรียน 21 ห้อง นักเรียน 705 คน ปีพ.ศ.2510 มีห้องเรียน 25 ห้อง นักเรียน 844 คน พ.ศ.2513 มีห้องเรียน 41 ห้อง นักเรียน1,733คน พ.ศ.2515 มีห้องเรียน 49 ห้อง นักเรียน 2,396 ในปีพ.ศ.2515 นี้ โรงเรียนปทุมคงคามีคุณภาพ และปริมาณงานสูงมากจนทางราชการ ให้ปรับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนชั้นพิเศษโรงเรียนปทุมคงคา นับเป็นรุ่นแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรง-เรียนซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างหนึ่งของโรงเรียนปทุมคงคา ต่อมาทางราชการปรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
พ.ศ.2520 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 9ซึ่งมีผลทำให้การศึกษาเปลี่ยนแปลงไปอีก คือ ใช้ระบบ 6 – 3 – 3 ซึ่งหมายถึง ระดับประถม -ศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี พร้อมกับใช้หลักสูตรมัธยม -ศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521 มีผลทำให้ปีการศึกษา 2521 โรงเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ตัดชั้น ม.ศ.1 ปีต่อๆไป ก็เปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 – 3 – 4 – 5 – 6 (ม.2 – ม.6) พร้อมกับตัดชั้น ม.ศ.1,ม.ศ.2 ,ม.ศ.3,ม.ศ.4 และ ม.ศ.5 ตามลำดับ ในปีการศึกษา 2523 โรงเรียนมีนักเรียนจบชั้น ม.3 และ ม.ศ.3 และม.ศ.5 พร้อมกัน ปีการศึกษา 2526 โรงเรียนจึงเปิดสอนระดับชั้น ม.1 – ม.6 ครบถ้วนตามระบบใหม่
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 โรงเรียนปทุมคงคาเปิดสอน 2 ผลัด ตามนโยบายจองกรมสามัญ ศึกษาเพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่มีที่เรียนในปี พ.ศ.2517 โรงเรียนปทุมคงคามีห้องเรียน 37ห้อง นักเรียน 3,338 คน ครูอาจารย์ 136 คน และปีการศึกษา 2521ได้เพิ่มปริมาณขึ้นมากเป็นห้องเรียน 122 ห้อง นักเรียน 5,211 คน ครูอาจารย์ 219 คน โรงเรียนปทุมคงคาเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษของประเทศไทย หลังจากนั้นจำนวนนักเรียนลดลง ปี พ.ศ.2522 มีห้องเรียน 120 ห้อง นักเรียน 5,088 คน ครูอาจารย์ 248 คน ปีการศึกษา 2523 มีห้องเรียน 118 ห้อง นักเรียน 4,939 คน ครูอาจารย์ 264 คน ปีการศึกษา 2524 มีห้องเรียน 102 ห้อง4,358 คน ครูอาจารย์ 262 คน ปีการศึกษา 2526 โรงเรียนเปิดสอนผลัดเดียวมีห้องเดียว 81 ห้อง นักเรียน 3,554 ครูอาจารย์ 237 คน
เดือนมิถุนายน 2523 อาจารย์ประยูร ธีระพงษ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมคงคา ซึ่งเป็นระยะที่โรงเรียนเริ่มลดปริมาณห้องเรียนและนักเรียนลง แต่ในขณะนั้นโรงเรียนยังเปิดสอน 2 ผลัด และสอนสัปดาห์ละ 6 วัน ท่านพยายามปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอนใหม่ โดยจัดการสอนสัปดาห์ละ 5 วัน (เดิมสอนสัปดาห์ละ 6 วัน) ซึ่งสามารถจัดได้จำนวนคาบครบตามหลักสูตร ท่านปรับปรุงคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการฝ่ายบริหาร คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ ฯลฯ โรงเรียนเปิดสอนชั้น ม.1 ,ม.2 ,ม.3 ,ม.ศ.3 ,ม.ศ.4 และม.ศ.5
ในปีการศึกษา 2523 นั้นจึงมีนักเรียนจบการศึกษาชั้น ม.3 และ ม.ศ.3 พร้อมกันเป็นจำนวนถึง 1,895 คน และยังจบชั้น ม.ศ.5 อีก 554 คน นับว่าเป็นปีที่มีนักเรียนจบการศึกษามากที่สุด
ในปีการศึกษา 2524 โรงเรียนปทุมคงคาเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 (ม.1) เพียง 14 ห้อง และรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 (ม.4) 20 ห้อง และในปีการศึกษา 2525 เปิดรับ ม.1เพียง 12 ห้อง ม.4 จำนวน 16 ห้องเรียน จุดมุ่งหมายเพื่อจะให้ โรงเรียนปทุมคงคาขยายการ -ศึกษาในระดับมัธยมปลาย
อาจารย์เจตต์ แก้วโชติ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมคงคา เมื่อเดือนมกราคม 2526 ขณะนั้นโรงเรียนปทุมคงคายังเปิดสอน 2 ผลัด จนสิ้นปีการศึกษา 2525
ปีการศึกษา 2526 ผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมคงคา ได้ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนใหม่โดยเปิดสอนผลัดเดียวตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 1 (ม.1) ถึงชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม.6) มีห้องเรียน89 ห้อง นักเรียน 3,591 คน การที่โรงเรียนเปิดสอนผลัดเดียวนั้น ก็เพื่อจะให้นักเรียนได้มีโอกาสอยู่ในโรงเรียนในวันหนึ่งๆ เป็นระยะเวลานานขึ้น ไม่ไปประพฤติตนเสียหายหรือไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ปกครองอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันนี้โรงเรียนปทุมคงคาเปิดสอนผลัดเดียว จำนวน 67 ห้องเรียน มีนักเรียน 2,570 คน มีครูอาจารย์ 142 คน นับว่า เป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ของประเทศไทยขอบคุณ…ข้อมูลประวัติโรงเรียน : www.patumkongka.net ( สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนปทุมคงคา )